Skip to content

Interstellar Group

ในฐานะผลิตภัณฑ์การซื้อขายทางการเงินที่ซับซ้อน สัญญาส่วนต่าง Contracts for Difference (CFDs) มีความเสี่ยงสูงอย่างมากเนื่องจากคุณสมบัติของเลเวอเรจ บัญชีลูกค้าของนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มักบันทึกการสูญเสียเงินลงทุนในสัญญาส่วนต่างอย่างรวดเร็ว คุณควรพิจารณาว่า คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การดำเนินงานของสัญญาส่วนต่าง และสามารถรับความเสี่ยงสูงของการสูญเสียเงินลงทุนได้หรือไม่    

InfoQuest - ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันศุกร์ (1 มี.ค.) หลังการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่อ่อนแอเกินคาด แต่ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเยน หลังนายคาซูโอะ อูเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กล่าวว่า ยังเร็วเกินไปที่จะประกาศชัยชนะด้านเงินเฟ้อ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลบ 0.28% สู่ระดับ 103.860 ดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับยูโรและปอนด์ แต่แข็งค่าเมื่อเทียบกับเยน โดยยูโรแข็งค่าขึ้น 0.31% สู่ระดับ 1.0837 ดอลลาร์ และปอนด์แข็งค่าขึ้น 0.26% สู่ระดับ 1.2655 ดอลลาร์ ขณะที่ดอลลาร์ปรับตัวขึ้น 0.09% สู่ระดับ 150.10 เยน ทั้งนี้ ดอลลาร์ปรับตัวในช่วงแคบ ๆ ขณะที่เทรดเดอร์ให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจเพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะเริ่ม...

28

2024-02

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.82/83 ลุ้น GDP ไตรมาส 4/66 สหรัฐคืนนี้ คาดกรอบ 35.80-36.00

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.82/83 บาท/ดอลลาร์ ค่อนข้างทรงตัวจาก ปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 35.81 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทและสกุลเงินในภูมิภาคเช้านี้ เคลื่อนไหวค่อนข้างนิ่งๆ ยังไม่มีปัจจัยใหม่ ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เมื่อคืนนี้ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนม.ค.ออกมาต่ำกว่าคาด แต่ไม่ได้ทำให้ดอลลาร์เคลื่อนไหวมาก และยังอยู่ในกรอบ สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามคืนนี้ คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหรัฐฯ ไตรมาส 4/2566 (ประมาณการ ครั้งที่ 2) นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ไว้ที่ 35.80 - 36.00 บาท/ดอลลาร์ * ปัจจัยสำคัญ - เงินเยน อยู่ที่ระดับ 150.45/47 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 150.20 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0838/0842 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0853 ดอลลาร์/ยูโร - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบ...

28

2024-02

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์แทบไม่ขยับ ตลาดจับตาเงินเฟ้อ-ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ

InfoQuest - ดอลลาร์สหรัฐทรงตัวเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (27 ก.พ.) ขณะที่การเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอของสหรัฐถ่วงดอลลาร์ลง ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงินแทบไม่เปลี่ยนแปลง โดยอยู่ที่ระดับ 103.829 ดอลลาร์อ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเยน หลังญี่ปุ่นเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อสูงกว่าคาด และยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนของสหรัฐลดลงมากเกินคาดในเดือนม.ค. ข้อมูลเงินเฟ้อที่สูงกว่าคาดของญี่ปุ่นทำให้ตลาดยังคงคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) อาจจะยุติอัตราดอกเบี้ยติดลบในเดือนเม.ย.นี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน ร่วงลง 6.1% ในเดือนม.ค. โดยลดลงมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าอาจลดลง 4.5% ดอลลาร์อ่อนค่าลง 0.1% สู่ระดับ 150.56 เยน ยูโรอ่อนค่าลง 0.1% สู่ระดับ 1.08...

28

2024-02

ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.81 แข็งค่าสอดคล้องภูมิภาค จับตาดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐคืนนี้

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 35.81 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก ตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 35.95 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาคและตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์ปรับตัวอ่อนค่าเมื่อเทียบ กับสกุลเงินหลัก ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.77 - 35.96 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่นักลงทุนขายพันธบัตร 2 พันล้านบาท "บาทปรับตัวแข็งค่าตามภูมิภาคและทิศทางตลาดโลก แต่ยังไม่มีปัจจัยเข้ามาใหม่" นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 35.70 - 36.00 บาท/ดอลลาร์ โดยคืนนี้สหรัฐฯ จะประกาศตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.พ.จาก Conference Board * ปัจจัยสำคัญ - เงินเยน อยู่ที่ระดับ 150.20 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 150.53 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0853 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1...

27

2024-02

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.95 ตลาดรอปัจจัยใหม่-จับตาทิศทาง Flow ช่วงสิ้นเดือน

InfoQuest - นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.95 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก สุดสัปดาห์ก่อนที่ระดับ 36.10 บาท/ดอลลาร์ โดยค่าเงินในภูมิภาคเคลื่อนไหวแบบผสม เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามา ขณะที่ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าเมื่อเทียบกับยูโร ส่วนปัจจัยในประเทศต้องจับตาดูทิศทางของเงินทุนต่างประเทศ โดยราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวลดลง แต่ราคาน้ำมันปรับ ตัวเพิ่มขึ้น "บาทแข็งค่าจากสุดสัปดาห์ก่อน เนื่องจากเป็นวันหยุดยาว ตลาดยังรอปัจจัยใหม่ วันนี้อาจต้องดู Flow ช่วงสิ้นเดือน" นัก บริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.85 - 36.10 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.88500 บาท/ดอลลาร์ * ปัจจัยสำคัญ - เงินเยน อยู่ที่ระดับ 150.53 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 150.73 เยน/ดอลลาร์ - เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0847 ดอลล...

27

2024-02

ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์อ่อนค่า ตลาดจับตาเงินเฟ้อ-ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐ

InfoQuest - ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (26 ก.พ.) ขณะที่นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เพื่อประเมินช่วงเวลาที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ ดัชนีดอลลาร์ ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก 6 สกุลในตะกร้าเงิน ลดลง 0.1% แตะที่ 103.827 สหรัฐจะเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนม.ค.ที่จะรายงานในวันอังคาร (27 ก.พ.) ,ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 4/2566 ในวันพุธ (28 ก.พ.) และดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนม.ค. ในวันพฤหัสบดี (29 ก.พ.) ทั้งนี้ ดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ เนื่องจากสามารถ...

27

2024-02

ดอลล์อ่อนเล็กน้อยเทียบยูโร-เยน จับตาสหรัฐเผยข้อมูลเงินเฟ้อ

InfoQuest - สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบสกุลเงินหลัก ขณะที่นักลงทุนจับตาข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐที่จะมีการเปิดเผยในสัปดาห์นี้ เพื่อดูทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ณ เวลา 19.02 น. ตามเวลาไทย ยูโรแข็งค่า 0.30% เทียบดอลลาร์ แตะระดับ 1.0855 ดอลลาร์ ส่วนเยนแข็งค่า 0.07% เทียบดอลลาร์ แตะระดับ 150.62 เยน สหรัฐมีกำหนดเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนม.ค. ในวันพฤหัสบดี (29 ก.พ.) ซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้สัญญาณเงินเฟ้อและแนวโน้มนโยบายของเฟด นอกจากนี้ นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด จะกล่าวแถลงการณ์รอบครึ่งปีว่าด้วยนโยบายการเงินและภาวะเศรษฐกิจสหรัฐต่อสภาคองเกรสในเดือนมี.ค. โดยนายพาวเวลเตรียมแถลงต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 6 มี.ค. ก่อนที่จะแถลงต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารประจำวุฒิสภาในวันที่ 7 มี.ค. นักลงทุนจับตาถ้อยแถลงของนายพาวเวล ...