Skip to content

Interstellar Group

ในฐานะผลิตภัณฑ์การซื้อขายทางการเงินที่ซับซ้อน สัญญาส่วนต่าง Contracts for Difference (CFDs) มีความเสี่ยงสูงอย่างมากเนื่องจากคุณสมบัติของเลเวอเรจ บัญชีลูกค้าของนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มักบันทึกการสูญเสียเงินลงทุนในสัญญาส่วนต่างอย่างรวดเร็ว คุณควรพิจารณาว่า คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การดำเนินงานของสัญญาส่วนต่าง และสามารถรับความเสี่ยงสูงของการสูญเสียเงินลงทุนได้หรือไม่    

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.60 แข็งค่าเล็กน้อย จับตาข้อมูลจ้างงานสหรัฐฯ-รอความชัดเจนการเมือง

ISG
ประกาศ

เราขอแนะนำให้คุณปฏิบัติตามประกาศทางการตลาดของเรา

.right_news

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

ตลาด
ข่าว

ข้อมูลทางการเงินทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมงและข่าวตลาดโลก

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสนับสนุน &
ความรับผิดชอบต่อสังคม

InterStellar Group มีเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทชั้นนำ และมีพลังในการสร้างผลกระทบที่ดีต่อโลก
นอกจากนี้เรายังมุ่งมั่นที่จะตอบแทนสังคม โดยตระหนักถึงคุณค่าของทุกคนเป็นส่วนสำคัญของชุมชนระดับโลกของเรา

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสัมนาสดเกี่ยวกับฟอเร็กซ์

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

05

2023-08

Date Icon
2023-08-05
การคาดการณ์สภาวะตลาด
ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.60 แข็งค่าเล็กน้อย จับตาข้อมูลจ้างงานสหรัฐฯ-รอความชัดเจนการเมือง

InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 34.60 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเล็ก น้อยจากเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 34.63 บาท/ดอลลาร์ เช้านี้เงินบาทแข็งค่าจากเล็กน้อยจากเมื่อเย็นวาน ขณะที่ค่าเงินในภูมิภาคยังเป็นแบบผสม โดยเมื่อคืนที่ผ่านมาดอลลาร์สหรัฐ ย่อตัวลง หลังจาก ISM รายงานดัชนีภาคบริการของสหรัฐเดือนก.ค. ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.50 – 34.75 บาท/ดอลลาร์ ปัจจัยที่สำคัญที่ต้องติดตาม คือ ข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน ก.ค.ของสหรัฐ ขณะที่ปัจจัยในประเทศ ยังคงต้องติดตามสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังมีความไม่แน่ นอนอยู่ในขณะนี้ รวมทั้ง Fund Flow SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.72000 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ – เงินเยนอยู่ที่ระดับ 142.64 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 142.75/95 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0956 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0900/0950 ดอลลาร์/ยูโร – อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.562 บาท/ดอลลาร์ – รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ททท. ได้ปรับแผนการเพิ่มกำลัง ซื้อของนักท่องเที่ยวไทยให้ถึง 4,000 บาทต่อคนต่อทริปในปี 66 นี้ ออกไปอีก 1 ปี หรือปี 67 หลังจากพบว่านักท่องเที่ยวได้เปลี่ยน พฤติกรรมโดยเดินทางท่องเที่ยวมากกว่า 1 ครั้งจึงทำให้การใช้จ่ายน้อยลง แตกต่างจากการเดินทางเพียงทริปเดียวที่จะใช้จ่ายเงินค่อน ข้างมาก ปัจจุบันนักท่องเที่ยวไทยใช้จ่ายเฉลี่ย 2,800-3,200 บาทต่อคนต่อทริป – “ศาล รธน.” ยังไม่พิจารณารับ-ไม่รับคำร้อง “ผู้ตรวจการฯ” ปมเสนอชื่อ “พิธา” ซ้ำ เป็น 16 ส.ค. “วันนอร์” เลื่อน โหวตนายกฯ รอศาล รธน. วินิจฉัยคำร้อง คาดโหวตนายกฯ 17 ส.ค. “ภูมิธรรม” เผยเลื่อนแถลงข่าวเปิดตัวพรรคการเมืองขั้วใหม่จัด ตั้งรัฐบาลด้าน “พีระพันธุ์” เผย “รทสช.” ไม่ปิดประตู “เพื่อไทย” ดึงร่วมรัฐบาล – ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) มีมติ 6-3 ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.25% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับ ตั้งแต่ปี 2551 ในการประชุมนโยบายการเงินเมื่อวานนี้ (3 ส.ค.) สอดคล้องกับการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ ทั้งนี้ BoE ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 14 ติดต่อกัน และส่งสัญญาณว่า BoE จะตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงต่อไปอีก ระยะหนึ่งเพื่อควบคุมให้เงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมายของ BoE ที่ระดับ 2% หลังจากแตะระดับ 7.9% ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในกลุ่ม ประเทศพัฒนา – กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น 6,000 ราย สู่ระดับ 227,000 รายใน สัปดาห์ที่แล้ว สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ – สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีภาคบริการของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 52.7 ในเดือนก.ค. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 53.0 จากระดับ 53.9 ในเดือนมิ.ย. – ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (3 ส.ค.) หลังสหรัฐเปิดเผยดัชนีภาคบริการที่ต่ำกว่าคาด ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐใน วันนี้ เพื่อประเมินแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) – สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ในวันพฤหัสบดี (3 ส.ค.) เนื่องจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทน พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐยังคงเป็นปัจจัยกดดันตลาด ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในวันนี้ เพื่อ ประเมินแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) – นักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในวันนี้ เวลา 19.30 น. ตามเวลาไทย โดยนักวิเคราะห์คาด การณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานอาจเพิ่มขึ้น 200,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 209,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย. และคาดว่า อัตราว่างงานอาจทรงตัวที่ระดับ 3.6% ในเดือนก.ค.

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.60 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก ปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 34.80 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาคและตลาดโลก เนื่องจากดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบ สกุลเงินหลัก หลังมีแรงเทขายดอลลาร์ออกมาจากการที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ย ประกอบกับตัวเลขขอรับ สวัสดิการว่างงานประจำสัปดาห์ของสหรัฐฯ ที่ประกาศออกมาสูงเกินคาด ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีโอกาสที่ จะกลับมาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก “วันนี้บาทน่าจะแกว่งตัวในทิศทางแข็งค่า หลังเปิดตลาดปรับตัวแข็งค่าตามตลาดโลก เนื่องจากมีปัจจัยหนุนให้ดอลลาร์อ่อน ค่า” นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.45 – 34.75 บาท/ดอลลาร์ ตลาดรอดูผลการ ประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ที่คาดว่าจะมีมติคงอัตราดอกเบี้ย แต่หากมีการปรับเปลี่ยนนโยบายอาจส่งผลให้ ตลาดเกิดความผันผวน THAI BAHT FIX 3M (15 มิ.ย.) อยู่ที่ระดับ 2.02206% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 2.27183% SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.70000 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ – เงินเยนอยู่ที่ระดับ 140.17 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 141.05/06 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0944 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0841/0845 ดอลลาร์/ยูโร – อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 34.826 บาท/ดอลลาร์ – นักเศรษฐศาสตร์ ห่วงตั้งรัฐบาลช้ายิ่งซ้ำเติมเศรษฐกิจไทย “พิพัฒน์” เผย “เอกชน” เริ่มปล่อยเกียร์ว่าง ชะลอลงทุน รอ ดูท่าทีรัฐบาลใหม่ ด้าน “สมประวิณ” ห่วงนโยบายก้าวไกลเพิ่มภาระการคลังเสี่ยงทำหนี้สาธารณะพุ่ง “ทีดีอาร์ไอ” เผย “3 นโยบาย” พรรคก้าวไกล ส่อเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไทยไม่เหมือนเดิม – ‘เอสเอ็มอี’ผวาไตรมาส 3 ขาดงบกระตุ้นเศรษฐกิจ ห่วงการเมืองวุ่น-กำลังซื้อฝืด ชี้ตั้ง รบ.ช้ากระทบทุกภาคส่วน กรมการค้าภายในเผย ก.ค.ราคาไข่ไก่กลับสู่ภาวะปกติ – “กอบศักดิ์” แนะ 3 โจทย์รัฐบาลใหม่ เพิ่มเสน่ห์ดึงดูดเงินลงทุนต่างชาติ เพิ่มแรงส่งเศรษฐกิจไทย หลังพบช่วงที่ผ่านมา เงินทุนไหลออกต่อเนื่อง เหตุไม่ใช่หลุมหลบภัย อีกต่อไป ด้าน “ภากร” มองการลงทุนปีนี้ท้าทาย แต่ “เศรษฐกิจ-ตลาดหุ้นไทย” ยังโดด เด่น – ราคาทองคำปรับลง แต่ YLG มองระยะกลาง-ยาว ขาขึ้น ทดสอบ นิวไฮ 2,079 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ชี้คนรุ่นใหม่สนใจลง ทุนแห่ขอคำปรึกษา เปิดแอป Get Gold ซื้อขายทองสปอตได้เรียลไทม์ ลงทุนเริ่มต้น 100 บาท – บิ๊กอีเวนต์ประชุมซีอีโอเชื้อสายจีน เปิดวาระ 4 หัวข้อเสวนาร่วมพัฒนาการค้า-ลงทุน ‘สนั่น’ฉายภาพเศรษฐกิจ แจง ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ระดม ตร.นับพัน รปภ.ประชุมนักธุรกิจจีนโลก – กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนพ.ค. สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าลดลง 0.1% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนเม.ย. – ยูโรแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (15 มิ.ย.) หลังจาก ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมล่าสุด – ดอลลาร์ถูกกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ใกล้จะยุติวงจรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยล่าสุด FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 67% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมเดือนก.ค. และจากนั้นจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยภายในเดือนธ.ค.ปีนี้ – สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันพฤหัสบดี (15 มิ.ย.) เนื่องจากการอ่อนค่าของดอลลาร์เป็นปัจจัยหนุนตลาด อย่าง ไรก็ดี ตลาดทองคำถูกกดดันในระหว่างวัน เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.60 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาดเย็น วานนี้ที่ระดับ 34.69 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทแข็งค่าเทียบท้ายตลาด เมื่อคืนดอลลาร์หยุดแข็งค่า เนื่องจากการเจรจาขยายเพดานหนี้ของสหรัฐฯ ยังไม่ได้ข้อสรุป ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่า ขณะที่สกุลเงินในภูมิภาคเคลื่อนไหวแบบผสม นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.45 – 34.70 บาท/ดอลลาร์ สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามวันนี้ คือ ประเด็นเรื่องเพดานหนี้สหรัฐ และรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) คืน นี้ นอกจากนี้ระหว่างวันต้องติดตาม Flow ต่างชาติในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทย ขณะเดียวกันในประเทศยังต้องจับตาเรื่องการจัดตั้งรัฐบาล ด้วย THAI BAHT FIX 3M (23 พ.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.73700% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.96805%

* ปัจจัยสำคัญ – เงินเยนอยู่ที่ระดับ 138.43 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 138.42 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0772 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0782 ดอลลาร์/ยูโร – อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 34.632 บาท/ดอลลาร์ – “ต่างชาติขายสุทธิ “หุ้น-บอนด์” ไทยรวม 1.2 แสนล้าน นายกสมาคมนักวิเคราะห์ชี้ต่างชาติยังเท ขายหุ้นไทยต่อเนื่อง เหตุ ความแน่นอนทางการเมือง แต่เชื่อครึ่งปีหลังฟันด์โฟลว์ไหลเข้า “แสนล้าน” จากปัจจัยต่างประเทศหนุน-จัดตั้งรัฐบาลได้-มีนโย บายกระตุ้นศก.-ตลาดทุน” – ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กล่าวถึงการจัดทำงบประมาณแบบฐานศูนย์ (Zero-based budgeting) ซึ่งเป็นหนึ่ง ในบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) 8 พรรคที่ร่วมจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ว่า สำนักงบประมาณเตรียมหารือกับรัฐบาลใหม่เพื่อทำความเข้าใจให้ ตรงกันว่าการจัดทำงบประมาณแบบฐานศูนย์จะทำในระดับใด เพราะทำได้ทั้งในการจัดทำงบประมาณใหม่ทั้งหมด หรือทำเฉพาะงบลงทุนโดย กรณีที่จะทำงบประมาณใหม่ทั้งหมดก็ต้องมาดูทั้งงบประจำและงบลงทุน ซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลานาน เพราะหน่วยงานรับงบประมาณมี จำนวนมาก ส่วนงบประมาณประจำก็ต้องดูว่าจะจัดสรรเงินเดือน ค่าจ้างให้กับบุคลากรภาครัฐรวมทั้งอัตราใหม่ที่จะมีการขอเพิ่มจำนวน บุคลากรว่ามีความเหมาะสมจำเป็นหรือไม่ เพราะรายจ่ายประจำเพิ่มขึ้นทุกปี – ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (23 พ. ค.) เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์ซึ่งเป็นสกุลเงินปลอดภัย หลังจากการเจรจาปรับเพิ่มเพดานหนี้ระหว่างทำเนียบขาวและสภา คองเกรสยังไม่คืบหน้า – สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบติดต่อกันเป็นวันที่ 2 ในวันอังคาร (23 พ.ค.) เนื่องจากการแข็งค่าของดอลลาร์และการ พุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐเป็นปัจจัยฉุดตลาด – นักลงทุนยังคงติดตามความคืบหน้าในการเจรจาเพดานหนี้ของสหรัฐ รวมทั้งจับตารายงานการประชุมประจำเดือนพ.ค.ของ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ในสัปดาห์นี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอก เบี้ยของเฟด – การเจรจาปรับเพิ่มเพดานหนี้รอบใหม่ระหว่างประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐ และนายเควิน แมคคาร์ธี ประธานสภา ผู้แทนราษฎรสหรัฐ ได้เสร็จสิ้นลงเมื่อวานนี้โดยที่ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ ขณะที่นายแมคคาร์ธีกล่าวว่าเขาจะเจรจากับ ปธน.ไบเดนแบบวันต่อวันจนกว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลง – ข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ โดยในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ เฟดจะเปิดเผยรายงานการประชุมซึ่งจัดขึ้นเมื่อวัน ที่ 2-3 พ.ค. ส่วนในวันพรุ่งนี้สหรัฐจะเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตร มาส 1/2566 (ประมาณการครั้งที่ 2) และยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (Pending Home Sales) เดือนเม.ย.

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ล่าสุด
ข่าว