Skip to content

Interstellar Group

ในฐานะผลิตภัณฑ์การซื้อขายทางการเงินที่ซับซ้อน สัญญาส่วนต่าง Contracts for Difference (CFDs) มีความเสี่ยงสูงอย่างมากเนื่องจากคุณสมบัติของเลเวอเรจ บัญชีลูกค้าของนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มักบันทึกการสูญเสียเงินลงทุนในสัญญาส่วนต่างอย่างรวดเร็ว คุณควรพิจารณาว่า คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การดำเนินงานของสัญญาส่วนต่าง และสามารถรับความเสี่ยงสูงของการสูญเสียเงินลงทุนได้หรือไม่    

ภาวะตลาดเงินบาท: เย็นนี้ 34.26/23 นลท.จับตาประชุมกนง.-โหวตนายกฯ สัปดาห์นี้

ISG
ประกาศ

เราขอแนะนำให้คุณปฏิบัติตามประกาศทางการตลาดของเรา

.right_news

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

ตลาด
ข่าว

ข้อมูลทางการเงินทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมงและข่าวตลาดโลก

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสนับสนุน &
ความรับผิดชอบต่อสังคม

InterStellar Group มีเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทชั้นนำ และมีพลังในการสร้างผลกระทบที่ดีต่อโลก
นอกจากนี้เรายังมุ่งมั่นที่จะตอบแทนสังคม โดยตระหนักถึงคุณค่าของทุกคนเป็นส่วนสำคัญของชุมชนระดับโลกของเรา

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสัมนาสดเกี่ยวกับฟอเร็กซ์

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

01

2023-08

Date Icon
2023-08-01
การคาดการณ์สภาวะตลาด
ภาวะตลาดเงินบาท: เย็นนี้ 34.26/23 นลท.จับตาประชุมกนง.-โหวตนายกฯ สัปดาห์นี้

InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเย็นนี้อยู่ที่ 34.26/23 บาท/ดอลลาร์ จากเปิดตลาดเมื่อเช้าอยู่ที่ ระดับ 34.22 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทยังไร้ปัจจัยใหม่ เคลื่อนไหวในกรอบ 34.15 – 34.30 บาท/ดอลลาร์ ด้านสกุลเงินใน ภูมิภาคทรงตัว ยกเว้นเงินเยนที่อ่อนค่า สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจที่ต้องติดตามวันนี้ คือ อัตราเงินเฟ้อเดือนก.ค. ของยุโรป นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพุธไว้ที่ 34.00 – 34.50 บาท/ดอลลาร์ ในสัปดาห์นี้ต้องรอจับตาปัจจัยในประเทศ ทั้งการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 2 ส.ค. และ การเลือกนายกรัฐมนตรีวันที่ 4 ส.ค. นี้ THAI BAHT SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 34.2470 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 142.40/50 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 141.58 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1020/1030 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1020 ดอลลาร์/ยูโร – ธปท. เผยเศรษฐกิจไทย มิ.ย. อยู่ในทิศทางฟื้นตัวจากภาคการท่องเที่ยว และการส่งออกสินค้า พร้อมมองเศรษฐกิจ เดือน ก.ค. ฟื้นต่อเนื่อง จับตาการจัดตั้งรัฐบาล และปัญหาค่าครองชีพเศรษฐโลก ทั้งนี้ คาดส่งออก ก.ค. ยังหดตัว แนวโน้มฟื้นตัวได้ช่วง ปลายปี – ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% มา อยู่ที่ระดับ 2.25% ในการประชุม กนง. วันที่ 2 ส.ค. นี้ ตามที่ได้ส่งสัญญาณไว้ แม้ว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะลดลงอย่างมาก เนื่องจาก เศรษฐกิจไทยมีทิศทางฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง แต่เงินเฟ้อยังมีความเสี่ยงที่จะเร่งสูงขึ้นอีกครั้งในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ จึงเป็นปัจจัยสนับสนุน ให้ กนง. ยังคงเดินหน้าปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อไป – China Beige Book International (CBBI) เปิดเผยรายงาน China Beige Book ซึ่งเป็นรายงานสำรวจภาวะ เศรษฐกิจจีนในวันนี้ (31 มิ.ย.) โดยระบุว่า กลุ่มผู้บริโภคของจีนปรับลดการใช้จ่ายเกือบทุกๆ ด้านในเดือนก.ค. ยกเว้นการใช้จ่ายด้าน การเดินทางและการรับประทานอาหารในภัตตาคาร ซึ่งส่งผลให้การเติบโตของรายได้ในภาคส่วนที่สำคัญของจีนชะลอตัวลง ขณะที่การฟื้นตัว ของเศรษฐกิจจีนเป็นไปอย่างซบเซา – ทางการจีน เปิดเผยว่า จีนเตรียมประกาศมาตรการใหม่ๆ เพื่อกระตุ้นการอุปโภคบริโภค ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความ พยายามในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังจากโรคโควิด-19 แพร่ระบาด – ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กล่าวในวันจันทร์ (31 ก.ค.) ว่า กลุ่มบริษัทเอกชนและภาคส่วนต่างๆ ของญี่ปุ่นได้มีการขึ้น ราคาอย่างรวดเร็ว ซึ่งสวนทางกับก่อนหน้านี้ที่ต่างก็ระมัดระวังเรื่องการผลักภาระต้นทุนที่สูงขึ้นให้กับครัวเรือน

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเย็นนี้อยู่ที่ 34.09/11 บาท/ดอลลาร์ จากเปิดตลาดเมื่อเช้าอยู่ที่ ระดับ 34.04 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบ 34.02 – 34.16 บาท/ดอลลาร์ ปัจจัยเงินบาทวันนี้ยังไม่มีปัจจัยใหม่ เคลื่อนไหวตามแรงซื้อขายระหว่างวัน และยังย่อยข่าวเมื่อคืนนี้ ที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ตามตลาดคาด ด้านสกุลเงินในภูมิภาควันนี้วิ่งในกรอบแคบเช่นเดียวกับเงินบาท “บาทรับข่าวเมื่อคืน ซึ่งไม่ได้เหนือความคาดหมายตลาดอยู่แล้ว เรทเงินบาทเลยไม่ได้ตีกลับขึ้นมาแม้จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยก็ ตาม ขณะเดียวกัน เฟดก็ไม่ได้พูดเชิงแข็งกร้าวเหมือนที่ผ่านมาว่าจะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อ แต่จะดูเป็นครั้งต่อครั้ง ถ้าเศรษฐกิจชะลอตัว แล้วก็อาจไม่ปรับขึ้น แต่ถ้ายังพอขึ้นได้ก็ยังอยากขึ้นอยู่ ทำให้ตลาดมองว่าหลังจากนี้เฟดอาจไม่ขึ้นดอกเบี้ยแล้วหลังจากนี้ การขึ้นเมื่อวานนี้น่า จะเป็นรอบสุดท้ายของปี และปีหน้าน่าจะปรับดอกเบี้ยลง” นักบริหารเงิน กล่าว สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ต้องติดตามคืนนี้ คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/66, ยอดสั่ง ซื้อสินค้าคงทนเดือนมิ.ย., ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ส่วนวันพรุ่งนี้ ต้องติดตาม ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนมิ.ย. ของสหรัฐฯ THAI BAHT SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 34.4040 บาท/ดอลลาร์ นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันจันทร์ไว้ที่ 33.90 – 34.20 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 139.94/96 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 139.76 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1134/1138 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1099 ดอลลาร์/ยูโร – มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คาดว่า หากสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ภายในส.ค. หรือ ก.ย. นี้ เศรษฐกิจไทยปี 66 ก็มี โอกาสจะเติบโตได้ใกล้เคียงกับ 3.5% – หอการค้าไทย ประเมินว่า จะมีเม็ดเงินหมุนเวียนเพิ่มเติมในช่วงวันหยุดยาว 6 วัน ประมาณ 5-7 พันล้านบาท ขณะ ที่แรงงานบางส่วนที่ยังต้องทำงานในช่วงวันดังกล่าว ก็จะได้รับอัตราค่าจ้างเพิ่มขึ้น จากกรณีประกาศเป็นวันหยุดเพิ่มเติม – สศอ. เตรียมหั่นคาดการณ์ MPI ภาคอุตสาหกรรม ปี 66 โดยฟันธงว่าจะติดลบ และต่ำกว่าปี 65 แน่นอน หลังเจอหลาย ปัจจัยรุมเร้า ด้านดัชนี MPI มิ.ย. และดัชนี MPI ไตรมาส 2/66 หดตัว หลังส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมชะลอ จากเศรษฐกิจคู่ค้าอ่อนแอ รายได้เกษตรลด ขณะที่ภาพรวม MPI ครึ่งปีแรก 66 หดตัว จากเศรษฐกิจโลกชะลอ – TTB ประเมินว่า สถานการณ์ส่งออกไปเวียดนามมีแรงกดดันมากขึ้น โดยคาดว่ามูลค่าส่งออก จะชะลอตัวลงเหลือ 3.97- 4.02 แสนล้านบาท หรือลดลง 12.3-13.4% – ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เคาะลดค่า Ft งวด ก.ย.-ธ.ค. 66 ส่งผลค่าไฟลดลงเหลือ 4.45 บาท/หน่วย – ส.อ.ท. เปิดเผยผลการสำรวจ FTI Poll มองว่า ความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาลและความขัดแย้งทางการเมืองหลัง การเลือกตั้งเป็นประเด็นสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลัง 66 และทำให้ภาคเอกชนชะลอการลงทุน รวมถึงหากการ ชุมนุมประท้วงทวีความรุนแรง จะส่งผลกระทบต่อบรรยากาศทางเศรษฐกิจ ที่ตอนนี้ต้องอาศัยภาคการท่องเที่ยวเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับ เคลื่อน พร้อมประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังเทียบกับครึ่งปีแรก 66 ว่า ยังคงทรงตัวจากต้นปีจากปัจจัยทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ ที่ยังคงกดดันเศรษฐกิจไทย – นักวิเคราะห์ คาดการณ์ว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ในการประชุมวัน ที่ 2 ส.ค. นี้ ซึ่งคาดว่าจะเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้าย และจากนั้นจะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับดังกล่าวจนถึงปี 68 เนื่องจาก แนวโน้มเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงและไม่แน่นอน

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเย็นนี้อยู่ที่ 34.72 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจากเปิดตลาด เมื่อเช้าอยู่ที่ระดับ 34.64 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 34.62 – 34.81 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหว ในทิศทางตลาดโลก และหลังตัวเลขภาคการผลิตของจีนออกมาแย่กว่าคาด ทำให้บาทอ่อนค่าไปตามเงินหยวน ส่วนผลประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ส่งผลต่อค่าเงินบาทในวงจำกัด เนื่องจากตลาดเห็นว่าการประชุมนัด ถัดไปในเดือน ส.ค.66 ค่อนข้างนาน ซึ่งอาจมีปัจจัยใหม่เข้ามา “วันนี้บาทผันผวน เคลื่อนไหวตามทิศทางในตลาดโลก มีช่วงที่อ่อนค่าไปมากตามเงินหยวนหลังตัวเลขภาคการผลิตของจีนออก มาไม่ค่อยดีก่อนที่จะกลับมา” นักบริหารเงิน กล่าว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 34.65 – 34.85 บาท/ดอลลาร์ โดยคืนนี้ตลาดรอ ดูความคืบหน้าเกี่ยวกับการขยายเพดานหนี้ของสหรัฐ THAI BAHT SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 34.7492 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ 139.81 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 139.79 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโรอยู่ที่ 1.0663 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0730 ดอลลาร์/ยูโร – คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 1.75% เป็น 2.00% ต่อปี โดยเห็นว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องยังเหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ – ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยเศรษฐกิจไทยเดือน เม.ย.66 ยังอยู่ในทิศทางฟื้นตัวจากกิจกรรมภาคบริการที่ ขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว สอดคล้องกับจำนวนนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติที่เพิ่มขึ้น และสนับสนุนให้เครื่องชี้การ บริโภคภาคเอกชนปรับเพิ่มขึ้น – สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน เม.ย.66 อยู่ที่ระดับ 83.51 หด ตัว 8.14% เมื่อเทียบกับเดือน เม.ย.65 เนื่องจากภาคการผลิตอุตสาหกรรมไทยได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่หดตัวลง ต้นทุนการ ผลิตและต้นทุนการเงินเพิ่มขึ้น กดดันภาคการส่งออกและขีดความสามารถการแข่งขันในอุตสาหกรรมไทยลดลง – ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยจะกดดันการส่งออกไทยอย่างต่อเนื่อง รวมถึงปัจจัยเสี่ยงเชิงลบอื่นๆ อาทิ ปัญหาภูมิรัฐศาตร์ที่ยังคงอยู่ ความผันผวนของค่าเงินในระยะข้างหน้า สภาพอากาศที่อาจไม่อำนวยต่อผล ผลิตสินค้าเกษตร โดยมองภาพรวมการส่งออกไทยในปี 2566 ยังคงติดลบที่ -1.2% – ผู้บริหาร ส.อ.ท.ส่วนใหญ่หวังให้รัฐบาลใหม่เร่งดำเนินการในเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างการผลิตไฟฟ้า การคำนวณ ราคา และกำลังการผลิตที่เหมาะสม เพื่อลดค่าครองชีพประชาชนและสร้างความมั่นคงทางพลังงานตามที่ระบุใน MOU โดยเร็ว ซึ่งเป็น ประเด็นที่ภาคอุตสาหกรรมได้มีการเรียกร้องมาตลอดในช่วงที่ผ่านมา – ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาคลีฟแลนด์ ระบุว่า ไม่เห็นเหตุผลที่มีน้ำหนักมากพอที่ทำให้เฟดต้องระงับการปรับ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไป – สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐเต็มคณะจะโหวตร่างกฎหมายดังกล่าวในวันพุธที่ 31 พ.ค. ก่อนที่จะส่งต่อเข้าสู่การพิจารณาของ วุฒิสภาสหรัฐ และหากวุฒิสภาให้ความเห็นชอบ ก็จะส่งต่อให้ปธน.ไบเดนลงนามเป็นกฎหมายเพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป – สำนักงานงบประมาณแห่งสภาคองเกรสสหรัฐ (CBO) คาดการณ์ว่า ยอดขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลสหรัฐจะลดลงราว 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วง 10 ปีข้างหน้า หากร่างกฎหมายเพดานหนี้ฉบับปัจจุบันสามารถผ่านความเห็นชอบจากสภาคองเกรสและมีผล บังคับใช้เป็นกฎหมาย

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเย็นนี้อยู่ที่ 34.10 บาท/ดอลลาร์ จากเปิดตลาดเมื่อเช้า นี้ที่ระดับ 34.13 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.07 – 34.21 บาท/ดอลลาร์ โดยอ่อนค่าตามเงินเยน หลังธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติคงนโยบายการเงินในการประชุมวันนี้ ทั้งคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และคงนโยบายควบคุมเส้นอัตราผล ตอบแทนพันธบัตร (yield curve control program) ทำให้ตลาดผิดหวังเรื่องที่ไม่ยกเลิก yield curve control ส่งผลให้เงินเย นโดนเทขาย และทำให้บาทอ่อนค่าตามไปด้วย ด้านสกุลเงินในภูมิภาควันนี้เคลื่อนไหวแบบไร้ทิศทาง นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันอังคารไว้ที่ 33.90 – 34.25 บาท/ดอลลาร์ THAI BAHT SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 34.1240 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ 135.66 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 133.96 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโรอยู่ที่ 1.0987 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1031 ดอลลาร์/ยูโร – ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนมี.ค. 66 ชะลอลงจากเดือนก่อน โดยมูลค่า การส่งออกไม่รวมทองคำปรับลดลง สอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมและเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน ขณะที่เครื่องชี้การบริโภคภาค เอกชนทรงตัว หลังจากที่หมวดสินค้าคงทนได้เร่งไปในช่วงก่อนหน้า – สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) รายงานดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนมี.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 104.65 หดตัว 4.56% เมื่อเทียบกับเดือนมี.ค. 65 แต่ขยายตัว 5.47% เมื่อเทียบจากเดือนก่อน ภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ไตรมาส 1/66 หดตัวเฉลี่ยอยู่ที่ 3.94% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยสำคัญ คือ ความต้องการซื้อจากต่างประเทศชะลอตัว – ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติคงนโยบายการเงินในการประชุมวันนี้ตามคาด โดยคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ – 0.1% และคงนโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (yield curve control program) รวมทั้งคงอัตราผลตอบแทนพันธบัตร รัฐบาลญี่ปุ่นประเภทอายุ 10 ปีไว้ที่ราวระดับ 0% – กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เรียกร้องในวันนี้ (28 เม.ย.) ให้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เดินหน้าปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อไปจนถึงกลางปี 2567 และขอให้กลุ่มรัฐมนตรีคลังประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) คุมเข้มนโยบายการคลัง เพื่อฉุดเงินเฟ้อกลับสู่เป้าหมาย 2% – สำนักข่าวต่างประเทศ รายงาน เจ้าหน้าที่สหรัฐกำลังหารือกันเพื่อกอบกู้วิกฤตการณ์ธนาคารเฟิร์สท์ รีพับลิก แบงก์ (FRB) ซึ่งเป็นธนาคารระดับภูมิภาคของสหรัฐ เนื่องจากภาคเอกชนซึ่งนำโดยกลุ่มที่ปรึกษาของ FRB ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเย็นนี้อยู่ที่ 34.13 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวในระดับเดียวกับเปิด ตลาดเมื่อเช้า เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับค่าเงินภูมิภาค ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.06 – 34.16 บาท/ดอลลาร์ โดย ตลาดรอปัจจัยจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนต่างประเทศ และการประกาศตัวเลข GDP ไตรมาสแรกปี 66 ของสหรัฐฯ คืนนี้ “บาทแข็งค่า แต่เคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ รอปัจจัยใหม่เข้ามา” นักบริหารเงินกล่าว นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 34.00 – 34.30 บาท/ดอลลาร์ THAI BAHT SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 34.1301 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ 133.81 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 133.59 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโรอยู่ที่ 1.1047 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1044 ดอลลาร์/ยูโร – ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ระบุว่า จากมูลค่าการส่งออกของไทยเดือนมี.ค.66 อยู่ที่ 27,654 ล้านดอลลาร์ ติด ลบ 4.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 นั้น ถือว่าอยู่ในระดับที่ดีกว่าการคาดการณ์ของตลาดที่ -14% ซึ่งการส่ง ออกไทย ยังมีความเสี่ยงจากอุปสงค์โลกที่เปราะบาง และอาจถูกกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง ทำให้คาดว่าการส่งออกทั้งปี 2566 มีแนวโน้มติดลบที่ 1.6% – ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ระบุว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยในเดือน มี.ค.66 อยู่ที่ 27,654.4 ล้านดอลลาร์สูงสุดในรอบปี และนับเป็นสถิติมูลค่าการส่งออกรายเดือนที่สูงเป็นอันดับ 2 นับตั้งแต่เดือนมี.ค.65 ที่มูลค่า การส่งออก อยู่ที่ระดับ 28,000 ล้านดอลลาร์ และแม้การส่งออกในเดือนมี.ค. 66 ยังหดตัว -4.2% แต่ก็หดตัวน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ไว้ที่ -14% – สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เผยเศรษฐกิจไทยในเดือนมี.ค.66 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวและภาค การเกษตรขยายตัวได้ดี อัตราเงินเฟ้อลดลงต่อเนื่อง ขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินสกุลดอลลาร์ยังคงหดตัวในอัตราลดลงจากเดือน ก่อน – ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีกำหนดประชุมกำหนดนโยบายการเงินระหว่างวันที่ 27-28 เม.ย. โดยนักวิเคราะห์คาด การณ์กันในวงกว้างว่า ผู้ว่าการคนใหม่ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะไม่สร้างความประหลาดใจให้กับตลาดในการประชุมนัดแรกนับ ตั้งแต่ขึ้นดำรงตำแหน่ง – BOJ มีกำหนดเปิดเผยการคาดการณ์เงินเฟ้อสำหรับปีการคลัง 2568 เป็นครั้งแรก และมีการคาดการณ์กันในวงกว้างว่าจะ รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารสด เพิ่มขึ้นประมาณ 2% จากปีก่อนหน้า – ทีมนักวิเคราะห์ของเจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค เปิดตัวโมเดลปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งออกแบบขึ้นเพื่อถอดรหัส แถลงการณ์ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และเปิดเผยสัญญาณบ่งชี้การซื้อขายในตลาดการเงินภายหลังการออกแถลงการณ์ของเฟด – สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐมีมติด้วยคะแนนเสียง 217 ต่อ 215 ผ่านร่างกฎหมายเพิ่มเพดานหนี้ของรัฐบาลกลางสหรัฐซึ่งปัจจุบัน อยู่ที่ระดับ 31.4 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งรวมถึงมาตรการปรับลดการใช้จ่ายในช่วง 10 ปีข้างหน้า – รัฐมนตรีคลังสหรัฐเตือนว่า หากสภาคองเกรสไม่อนุมัติการเพิ่มเพดานหนี้ของรัฐบาลและนำไปสู่การผิดนัดชำระหนี้ ก็จะส่ง ผลให้เศรษฐกิจสหรัฐเผชิญกับหายนะ และจะยิ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยปรับตัวสูงขึ้นในช่วงหลายปีข้างหน้า

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทช่วงเย็นอยู่ที่ระดับ 34.23 บาท/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่เปิด ตลาดที่ระดับ 34.20 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.18 – 34.34 บาท/ดอลลาร์ วันนี้เงินบาทเคลื่อนไหวแบบไร้ทิศทาง แม้กระทรวงพาณิชย์ประกาศตัวเลขส่งออกดีกว่าคาด แต่มีผลต่อตลาดค่อนข้างจำกัด ส่วนมากเป็น Flow ช่วงสิ้นเดือน ด้านสกุลเงินในภูมิภาคส่วนใหญ่แข็งค่าเล็กน้อย สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามของสหรัฐฯ คืนนี้ คือ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน ประเทศ (GDP) ไตรมาส 4/2565 นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.10 – 34.40 บาท/ดอลลาร์ THAI BATH SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 34.2513 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 132.55 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 132.76 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0869 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0830 ดอลลาร์/ยูโร – กระทรวงพาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนก.พ. 66 พบว่า มูลค่าการส่งออก อยู่ที่ 22,376 ล้านดอลลาร์ หดตัว 4.7% ส่วนมูลค่าการนำเข้า อยู่ที่ 23,489 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 1.1% ส่งผลให้ในเดือนก.พ. ไทยขาดดุลการค้า 1,113 ล้านดอลลาร์ – กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่า การส่งออกของไทยในไตรมาสแรกปีนี้ จะหดตัวราว 8% ซึ่งเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ได้หารือร่วม กับภาคเอกชนผู้ส่งออกสินค้า เนื่องจากประเทศผู้นำเข้ายังมีสต็อกสินค้าอยู่ในปริมาณสูง จึงทำให้ชะลอการนำเข้าสินค้าจากไทย ประกอบกับ เมื่อเทียบกับฐานที่สูงในช่วงเดียวกันของปีก่อน (ไตรมาส 1/65) ที่มูลค่าการส่งออก เพิ่มขึ้นถึง 14.7% โดยการส่งออกยังมีโอกาสจะติด ลบต่อเนื่องในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ และคาดว่าตั้งแต่ครึ่งหลังของปีนี้เป็นต้นไป ทิศทางการส่งออกจะเริ่มดีขึ้นได้ – ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนก.พ. 66 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจาก การบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทนที่ปรับตัวดีขึ้น การท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ต่อเนื่อง ทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศและผู้เยี่ยม เยือนชาวไทย รวมถึงแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงต่อเนื่อง – Krungthai COMPASS ระบุว่า จากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วานนี้ (29 มี.ค.) ที่มีมติเป็น เอกฉันท์ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี สู่ระดับ 1.75% ต่อปี โดยเป็นการปรับขึ้นต่อเนื่องติดต่อกันเป็นครั้งที่ 5 นั้น เนื่อง จาก กนง. มองว่าเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ต่อเนื่อง จากภาคการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชนเป็นสำคัญ – มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส คาดการณ์ว่า ความเสี่ยงที่อันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ ในภาคธนาคารนั้น ยังคงอยู่ในกรอบจำกัด นอกเสียจากว่าวิกฤตการณ์ดังกล่าวยังคงยืดเยื้อ – รฐมนตรีคลังสหรัฐได้ปฏิเสธข้อเสนอการปรับเพิ่มเงินทุนของธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ในระยะเวลาอันใกล้นี้ พร้อมกับ แสดงความเชื่อมั่นว่า นายเอเจย์ บังกา ซึ่งได้รับการเสนอชื่อโดยสหรัฐนั้น จะก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งประธานธนาคารโลกคนใหม่ เนื่องจาก ไม่มีประเทศใดเสนอชื่อผู้ท้าชิงและขณะนี้ระยะเวลาการเสนอชื่อได้สิ้นสุดลงแล้ว

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 32.98 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากเปิดตลาด ช่วงเช้าที่ระดับ 32.78 บาท/ดอลลาร์ ในระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 32.73 – 32.98 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทเย็นนี้อ่อนค่าเช่นเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาค เนื่องจากดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าเมื่อเทียบกับทุกสกุลเงินก่อนการประชุม คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.75- 33.05 บาท/ดอลลาร์ โดยคืนนี้สหรัฐฯ จะเปิดเผย ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ส่วนภาพใหญ่ตลาดรอดูผลประชุม FOMC คืนวันพรุ่งนี้ THAI BAHT SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 32.8035 บาท/ดอลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 130.37 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 130.15 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0811 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0857 ดอลลาร์/ยูโร – นายกรัฐมนตรี ปฏิเสธตอบคำถามถึงการยุบสภาจะเกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์หรือไม่ พร้อมระบุว่า ยังไม่มีไทม์ไลน์ในการ เลือกตั้งของรัฐบาลไว้ในใจ โดยเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพราะหน้าที่ของรัฐบาลถือว่าเสร็จสิ้นหลังกฎหมายลูก 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ พรรคการเมือง มีผลบังคับใช้ – รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกระแสข่าวจะมีการยุบสภาในวันที่ 15 มี.ค. ว่า เข้าใจว่าน่าจะมาจากคาด การณ์ว่าจะมีการยุบสภาหลังปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 28 ก.พ.นี้ แต่ทุกอย่างต้องขึ้นกับการตัดสินใจของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยยืนยันว่าอย่างไรก็ตาม จะมีการยุบสภาแน่นอน – ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผย เศรษฐกิจไทยในเดือนธ.ค. 65 ฟื้นตัวต่อเนื่อง จากภาคบริการที่ขยายตัวดีตาม จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นสำคัญ สนับสนุนให้เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนปรับดีขึ้น ขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้ายังได้รับผลจากการ ชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้า ส่วนเงินเฟ้อทั่วไปยังเพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อหมวดอาหารสด และพลังงาน ด้านตลาดแรงงานโดยรวมฟื้นตัว ตามภาวะเศรษฐกิจ – ธปท. ประเมินเศรษฐกิจไทยเดือนม.ค.66 จะยังมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง แต่ยังต้องติดตาม 3 ปัจจัย ได้แก่ แนวโน้ม เศรษฐกิจโลก, ผลจากการเปิดประเทศ และมาตรการสนับสนุนเศรษฐกิจของจีน และการส่งผ่านต้นทุนของผู้ประกอบการที่อาจเพิ่มขึ้น – ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ในเดือน ธ.ค. 65 อยู่ที่ 93.89 หดตัว 8.19% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยเป็นการหดตัวอย่างต่อเนื่อง และหดตัวมากที่สุดในรอบ 28 เดือน (เดือนส.ค. 63 อยู่ที่ระดับ 91.21) แต่ในช่วง 12 เดือน ของปี 65 (ม.ค.-ธ.ค.) ขยายตัวเฉลี่ย 0.62% – สศอ. ประเมินว่า จากนโยบายจีนเปิดประเทศ จะส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมไทย มีรายได้จากนักท่องเที่ยวจีนเพิ่ม ขึ้นประมาณ 2-3 แสนล้านบาท ซึ่งจะทำให้การบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้น และส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศที่แท้จริงภาค อุตสาหกรรม (Real GDP of Manufacturing) เพิ่มขึ้น 0.30% – กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เผยแพร่รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกฉบับล่าสุดเมื่อวันจันทร์ (30 ม.ค.) โดย คงคาดการณ์เศรษฐกิจประเทศไทยสำหรับปี 66 และปี 67 โดยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 3.7% ในปีนี้ และ 3.6% ในปีหน้า แต่เตือนว่าอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และกรณีรัสเซียรุกรานยูเครน ยังมีแนวโน้มที่จะถ่วงกิจกรรมเศรษฐกิจต่อไป – IMF ปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจโลก ในปี 2566 โดยคาดว่าจะขยายตัวได้ 2.9% ในปี 2566 ซึ่งเพิ่มขึ้น 0.2% จากที่ เคยคาดการณ์ไว้ในเดือนต.ค. อย่างไรก็ตาม ตัวเลขคาดการณ์ล่าสุดนี้ยังคงต่ำกว่าการขยายตัวที่ระดับ 3.4% ในปี 2565 – นักลงทุนติดตามการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในช่วงกลางสัปดาห์นี้ ซึ่งตลาดคาดการณ์ว่าเฟดจะมีมติปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% รวมทั้งรอฟังถ้อยแถลงจากประธานเฟดว่าจะมีการส่งสัญญาณชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 32.72 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงจากเปิด ตลาดช่วงเช้าที่ระดับ 32.75 บาท/ดอลลาร์ ในระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 32.67 – 32.80 บาท/ดอลลาร์ วันนี้เงินบาทยังเคลื่อนไหวแบบไร้ทิศทาง ซึ่งภาพใหญ่คือ นักลงทุนรอผลการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของ ธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ในกลางสัปดาห์นี้ โดยตลาดคาดว่าจะมีมติขึ้นดอกเบี้ยเพียง 0.25% และรอฟังถ้อยแถลงว่าจะมีการส่งสัญญาณ การหยุดขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมรอบหน้าหรือไม่ “วันนี้ยังไม่มีปัจจัยอะไรมาก บาทยังเคลื่อนไหวไร้ทิศทาง คงรอฟังผล FOMC กลางสัปดาห์ คาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% และรอฟังว่ารอบมี.ค.จะส่งสัญญาณหยุดขึ้นดอกเบี้ยหรือไม่” นักบริหารเงิน ระบุ นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.65- 32.95 บาท/ดอลลาร์ THAI BAHT SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 32.7181 บาท/ดอลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยนอยู่ที่ระดับ 130.13 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 130.18 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0876 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0871 ดอลลาร์/ยูโร – แบงก์กรุงศรี คาดทิศทางค่าเงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 32.50-33.25 บาท/ดอลลาร์ ชี้สถานการณ์ใน สัปดาห์นี้ จุดสนใจของตลาดโลกอยู่ที่การประชุมเฟดวันที่ 31 ม.ค.-1 ก.พ. ซึ่งคาดว่าจะขึ้นดอกเบี้ย 25bp สู่ระดับ 4.50-4.75% โดย ปฏิกิริยาของนักลงทุน จะขึ้นอยู่กับการสื่อสารของเฟดเกี่ยวกับทิศทางนโยบายระยะถัดไป – สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) มองว่า โดยตั้งเป้าหมายปี 2566 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทะลุ 30 ล้านคน สร้างรายได้กว่า 3 ล้านล้านบาท โดยปีนี้จะเป็นปีที่ภาคการท่องเที่ยวเติบโตแบบก้าวกระโดด และกลับมาเป็นเครื่องจักรสำคัญ ในการฟื้นเศรษฐกิจของประเทศอีกครั้ง – นักวิเคราะห์คาด ธนาคารกลางอินเดีย (RBI) มีแนวโน้มที่จะยุติวงจรการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เช่นเดียวกับธนาคาร กลางอื่น ๆ เพื่อประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ก่อนที่จะมีการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน หลังจากเศรษฐกิจอินเดียซึ่งใหญ่เป็น อันดับ 3 ของเอเชียเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว – ตลาดการเงินทั่วโลกจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งจะเริ่มขึ้นในวันอังคารที่ 31 ม. ค. และจะแถลงมติการประชุมในวันพุธที่ 1 ก.พ.ตามเวลาสหรัฐ นอกเหนือจากผลการประชุมเฟดแล้ว นักลงทุนยังจับตาถ้อยแถลงของนาย เจอโรม พาวเวล ประธานเฟด – นักลงทุนคาดการณ์ว่า ประธานเฟด อาจจะส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ซึ่งเร็วกว่าที่คาดไว้ หลังสหรัฐเปิดเผย ดัชนี PCE เมื่อวันศุกร์ ซึ่งบ่งชี้ถึงการชะลอตัวของเงินเฟ้อ

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ล่าสุด
ข่าว