InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 35.03/05 บาท/ดอลลาร์ จากเปิดตลาดเมื่อ เช้าที่ระดับ 35.08 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเงินบาทยังไร้ปัจจัยใหม่ เคลื่อนไหวในกรอบ 34.90 – 35.08 บาท/ดอลลาร์ วันนี้เงินบาทและสกุลเงินในภูมิภาคเคลื่อนไหวแบบนิ่งๆ รอปัจจัยใหม่ คือดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯ ที่จะเปิดเผย ในคืนนี้ โดยตลาดคาดการณ์ว่า ดัชนี CPI จะเพิ่มขึ้น 3.2%YOY ในเดือนธ.ค. จากระดับ 3.1% ในเดือนพ.ย. ส่วน Core CPI คาด ว่า จะเพิ่มขึ้น 3.8%YoY ในเดือนธ.ค. จากระดับ 4.0% ในเดือนพ.ย. “ต้องติดตามว่า เงินเฟ้อคืนนี้จะออกมาดีหรือแย่กว่าคาด ซึ่งถ้าเงินเฟ้อออกมาสูง ดอลลาร์น่าจะแข็งค่า แต่ถ้าเงินเฟ้อเริ่ม ชะลออาจเห็นดอลลาร์กลับมาอ่อนค่าได้” นักบริหารเงิน ระบุ นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 34.70 – 35.20 บาท/ดอลลาร์
*ปัจจัยสำคัญ – เงินเยนอยู่ที่ระดับ 145.48/51 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 145.40 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0960/0964 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0978 ดอลลาร์/ยูโร – ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,408.24 จุด ลดลง 5.28 จุด (-0.37%) มูลค่าการซื้อขาย 35,536.61 ล้านบาท – สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,007.04 ล้านบาท – ประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคใน เดือน ธ.ค. 66 อยู่ที่ระดับ 62.0 ปรับตัวดีขึ้นจากในเดือน พ.ย. ที่ 60.9 เป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และอยู่ในระดับสูง สุดในรอบ 46 เดือน นับตั้งแต่เดือนมี.ค. 63 โดยมีมุมมองต่อเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันว่า เศรษฐกิจไทยยังไม่วิกฤต จากเหตุผลสำคัญ คือ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยไม่ได้ติดลบ และเศรษฐกิจไทยเริ่มทยอยฟื้นตัวดีขึ้นเป็นลำดับ อย่างไรก็ดี ในไตรมาสแรกของปีนี้มี โอกาสจะเห็นเงินเฟ้อติดลบ ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นภาวะเงินฝืดทางเทคนิค เนื่องจากรัฐบาลยังคงใช้นโยบายแทรกแซงกลไกราคาพลังงานต่อ เนื่อง – ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี (ttb analytics) ประมาณรายได้ท่องเที่ยวไทยปี 67 อยู่ที่ระดับ 2.75 ล้านล้านบาท ฟื้นตัวเกือบสมบูรณ์มากกว่า 90% จากการท่องเที่ยวในประเทศที่ฟื้นตัวสมบูรณ์ในฝั่งของรายได้ ในขณะที่กลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ คาดว่านัก ท่องเที่ยวชาวจีนกลับมาเพียง 52% ของภาวะปกติ จากแรงกดดันทางเศรษฐกิจภายในประเทศ และพฤติกรรมการเดินทางที่เริ่มเปลี่ยนตาม โครงสร้างอายุ และรายได้ แนะภาครัฐออกนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวให้เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวในแต่ละกลุ่มที่มีพฤติกรรมต่างกัน – รมว.แรงงาน ตอบกระทู้ในสภาฯ เกี่ยวกับประเด็นการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาลที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงว่า การ ประกาศค่าแรงขั้นต่ำจะมีอีกครั้งในวันสงกรานต์ เดือนเม.ย. นี้ และในปี 68 หลังจากได้ประกาศปรับขึ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 1 ม.ค. ที่ผ่าน มา – ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (YLG) กล่าวว่า ภาพรวมการเคลื่อนไหว ของทองคำปี 67 จะยังคงเป็นขาขึ้น และมีโอกาสทำนิวไฮ เนื่องจากปีนี้มีปัจจัยบวกต่อตลาดทองคำมีมากกว่าปัจจัยลบ โดยเฉพาะอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐเข้าสู่วงจรขาลง อีกทั้งความกังวลการขยายตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งสอดคล้องกับ ทางด้านเจพีมอร์แกนที่คาดการณ์ว่า ราคาทองคำในตลาดโลกจะพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในปี 67 โดยจะพุ่งทำระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์อีก ครั้งที่ 2,300 ดอลลาร์/ออนซ์ ทั้งนี้ ระหว่างทางจะมีแรงเทขายทำกำไรสลับออกมา นักลงทุนจึงต้องซื้อขายอย่างระมัดระวัง – รองผู้จัดการหัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มองว่า ในปี 67 มีโอกาสที่เงินลงทุน เคลื่อนย้ายมาตลาดหุ้นในภูมิภาค ASEAN โดยเฉพาะตลาดหุ้นไทยค่อนข้างมาก สังเกตจากเงินบาทที่มีแนวโน้มกลับมาแข็งค่าในระยะ ปานกลาง ประกอบกับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 67 จะขยายตัวได้สูงกว่าคาด ตามการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว การส่งออก และการ บริโภคภายในประเทศ – จีนจะผ่อนคลายข้อกำหนดการขอวีซ่าบางประการเพื่อให้ชาวต่างชาติสามารถเดินทางเพื่อธุรกิจ การศึกษา และการท่อง เที่ยวในจีนได้ง่ายขึ้น ขณะที่รัฐบาลพยายามที่จะกระตุ้นการท่องเที่ยวและฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ชะลอตัว – รองนายกรัฐมนตรีจีนได้พบปะกับบรรดาผู้บริหารด้านการเงินระดับโลกเมื่อวานนี้ (10 ม.ค.) พร้อมกับให้คำมั่นว่าจะเปิด ทางให้สถาบันการเงินต่างชาติสามารถเข้ามาลงทุนในประเทศจีนได้ง่ายขึ้น – ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยรายสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Sakura Report ในวันนี้ โดยระบุว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่น กำลังฟื้นตัว พร้อมกับปรับเพิ่มการประเมินเศรษฐกิจ 2 ใน 9 ภูมิภาคของญี่ปุ่น แม้มีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิด จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในพื้นที่ตอนกลางของญี่ปุ่นเมื่อช่วงต้นเดือนม.ค. ก็ตาม – องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) เปิดเผยในวันนี้ (11 ม.ค.) ว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ควรจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป และทำให้นโยบายควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรมีความยืดหยุ่นมากขึ้น หากเงินเฟ้อของญี่ปุ่นอยู่ที่ราวระดับเป้าหมายที่ 2% และค่าจ้างมีการขยายตัวอย่างยั่งยืน
กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest