Skip to content

Interstellar Group

ในฐานะผลิตภัณฑ์การซื้อขายทางการเงินที่ซับซ้อน สัญญาส่วนต่าง Contracts for Difference (CFDs) มีความเสี่ยงสูงอย่างมากเนื่องจากคุณสมบัติของเลเวอเรจ บัญชีลูกค้าของนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มักบันทึกการสูญเสียเงินลงทุนในสัญญาส่วนต่างอย่างรวดเร็ว คุณควรพิจารณาว่า คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การดำเนินงานของสัญญาส่วนต่าง และสามารถรับความเสี่ยงสูงของการสูญเสียเงินลงทุนได้หรือไม่    

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.77 อ่อนค่า ให้กรอบวันนี้ 35.60-35.90 จับตาผลประชุม ECB

ISG
ประกาศ

เราขอแนะนำให้คุณปฏิบัติตามประกาศทางการตลาดของเรา

.right_news

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

ตลาด
ข่าว

ข้อมูลทางการเงินทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมงและข่าวตลาดโลก

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสนับสนุน &
ความรับผิดชอบต่อสังคม

InterStellar Group มีเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทชั้นนำ และมีพลังในการสร้างผลกระทบที่ดีต่อโลก
นอกจากนี้เรายังมุ่งมั่นที่จะตอบแทนสังคม โดยตระหนักถึงคุณค่าของทุกคนเป็นส่วนสำคัญของชุมชนระดับโลกของเรา

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสัมนาสดเกี่ยวกับฟอเร็กซ์

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

25

2024-01

Date Icon
2024-01-25
การคาดการณ์สภาวะตลาด
ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.77 อ่อนค่า ให้กรอบวันนี้ 35.60-35.90 จับตาผลประชุม ECB

InfoQuest – นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน บาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 35.77 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงจากระดับปิดวันก่อนที่ 35.67 บาท/ดอลลาร์ แนวโน้มเงินบาทยังเสี่ยงที่จะผันผวนอ่อนค่าลงได้บ้าง หลังเงินดอลลาร์ และบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง ตามการ ปรับลดความคาดหวังต่อแนวโน้มการลดดอกเบี้ย “เร็วและลึก” ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ตลาดได้เคย ประเมินไว้ก่อนหน้า นอกจากนี้ เงินบาทยังเผชิญปัจจัยกดดันเพิ่มเติมจากโฟลว์ธุรกรรมซื้อสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะทองคำ “เงินบาทยังไม่สามารถกลับมาแข็งค่าขึ้นได้ชัดเจน จนกว่าจะมีปัจจัยใหม่ๆ เข้ามา หรือนักลงทุนต่างชาติพลิกกลับมาซื้อ สินทรัพย์ไทยต่อเนื่อง ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ หากผู้เล่นในตลาดมั่นใจมากขึ้นว่าเฟดจะลดดอกเบี้ยลงได้แน่นอน” นายพูน ระบุ นายพูน มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.60-35.90 บาท/ดอลลาร์ ไฮไลท์สำคัญอยู่ที่ผลการประชุมธนาคาร กลางยุโรป (ECB) ซึ่งประเมินว่า ECB จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 4% แต่ปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อตลาดการเงิน คือ มุมมองของประธาน ECB ต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.78500 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยน อยู่ที่ระดับ 147.66 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานที่ระดับ 147.56 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0877 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานที่ระดับ 1.0902 ดอลลาร์/ยูโร – อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.828 บาท/ดอลลาร์ – “เศรษฐา” เผยเตรียมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลัง ‘”จีดีพี” โตต่ำ ชี้มาตรการไม่รวม ในดิจิทัลวอลเล็ต ยันไม่แทรก แซงทำตัวเลขจีดีพี ด้าน สศค. ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี 66 อยู่ที่ 1.8% จากภาคการผลิตอุตสาหกรรมหดตัวต่อเนื่อง 14 เดือน ระบุเศรษฐกิจไทยขยายตัวลดลงต่อเนื่องแต่ยังไม่วิกฤติ – กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทหลักทรัพย์ เจพีมอร์แกน (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า เจพีมอร์แกนคาดการณ์เศรษฐกิจ ไทยปี 67 หรือจีดีพีปีนี้ขยายตัว 3.7% ไม่นับรวมเงินดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งถือเป็นการเติบโตสูงกว่าค่าเฉลี่ยจีดีพีทั่วโลกครั้งแรกในรอบ 5 ปี และตลาดหุ้นไทยจะฟื้นหลังจากนี้คาดสิ้นปี 67 จะอยู่ที่ 1,700 จุด จากปัจจุบันอยู่ที่ใกล้ 1,400 จุด เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะมีเงินทุนไหล เข้าหลังจากฐานที่ต่ำ การส่งออกและการท่องเที่ยวกลับมาฟื้นตัวดี รวมถึงดอกเบี้ยสหรัฐที่จะลดลง ส่วนดอกเบี้ยไทยจะลดลงช้ากว่าประเทศ อื่น ทำให้เป็นโอกาสการลงทุนของต่างชาติ – ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 52.3 ในเดือนม. ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน จากระดับ 50.9 ในเดือนธ.ค. โดยดัชนี PMI อยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้การขยายตัวของภาค ธุรกิจสหรัฐ – ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพุธ (24 ม.ค.) ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐในสัปดาห์นี้ เพื่อประเมินทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) – สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันพุธ (24 ม.ค.) หลังมีรายงานว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของสหรัฐพุ่งขึ้น อย่างแข็งแกร่ง ซึ่งอาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงยาวนานกว่าที่คาด นอกจากนี้ ตลาดทองคำยังถูกกด ดันจากการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ – นักลงทุนจับตาการเปิดเผยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 4/2566 (ประมาณการเบื้องต้น) ของสหรัฐ ในวันนี้ รวมทั้งดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ในวันศุกร์ – ธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะแถลงมติอัตราดอกเบี้ย วันนี้ ซึ่งคาดว่าจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับปัจจุบัน ขณะที่บรรดา ตลาดเงินปรับตัวรับโอกาสที่ ECB จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 1.30% ในปีนี้

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ล่าสุด
ข่าว