Skip to content

Interstellar Group

ในฐานะผลิตภัณฑ์การซื้อขายทางการเงินที่ซับซ้อน สัญญาส่วนต่าง Contracts for Difference (CFDs) มีความเสี่ยงสูงอย่างมากเนื่องจากคุณสมบัติของเลเวอเรจ บัญชีลูกค้าของนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มักบันทึกการสูญเสียเงินลงทุนในสัญญาส่วนต่างอย่างรวดเร็ว คุณควรพิจารณาว่า คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การดำเนินงานของสัญญาส่วนต่าง และสามารถรับความเสี่ยงสูงของการสูญเสียเงินลงทุนได้หรือไม่    

ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.57/58 ตลาดรอความชัดเจนประชุมเฟดในสัปดาห์นี้

ISG
ประกาศ

เราขอแนะนำให้คุณปฏิบัติตามประกาศทางการตลาดของเรา

.right_news

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

ตลาด
ข่าว

ข้อมูลทางการเงินทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมงและข่าวตลาดโลก

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสนับสนุน &
ความรับผิดชอบต่อสังคม

InterStellar Group มีเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทชั้นนำ และมีพลังในการสร้างผลกระทบที่ดีต่อโลก
นอกจากนี้เรายังมุ่งมั่นที่จะตอบแทนสังคม โดยตระหนักถึงคุณค่าของทุกคนเป็นส่วนสำคัญของชุมชนระดับโลกของเรา

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสัมนาสดเกี่ยวกับฟอเร็กซ์

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

30

2024-01

Date Icon
2024-01-30
การคาดการณ์สภาวะตลาด
ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.57/58 ตลาดรอความชัดเจนประชุมเฟดในสัปดาห์นี้

InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.57/58 บาท/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ เปิดตลาดที่ระดับ 35.56 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.52 – 35.63 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบตามแรงซื้อแรงขายระหว่างวัน โดยทิศทางเงินบาทในช่วงนี้ขึ้นอยู่กับแนวโน้มเงินดอลลาร์ และ ราคาทองคำเป็นหลัก ส่วนมุมมองที่ตลาดมองว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะลดดอกเบี้ย อยู่ระหว่างช่วงเดือนมี.ค.-พ.ค. แต่ตอนนี้ลดความน่า จะเป็นที่เฟดจะปรับลดดอกเบี้ยในเดือนมี.ค. ค่อนข้างมาก และคาดว่าจะลดดอกเบี้ยในเดือนพ.ค. มากกว่า อย่างไรก็ดี ช่วงนี้ต้องจับตา การประชุมเฟดวันที่ 30-31 ม.ค. นี้ สำหรับปัจจัยในประเทศ วันนี้ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนม.ค. 67 แนวโน้มดีขึ้นเนื่องจากมี ภาคบริการและภาคการลงทุนช่วยสนับสนุน ซึ่งช่วงที่มีการรายงานดัชนี ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาแตะ 35.52 บาท/ดอลลาร์ “ในช่วงนี้การอ่อนค่าของเงินบาทถือว่าชะลอตัวลงจากช่วงก่อน คิดว่าเงินบาทอาจไม่ได้กลับมาแข็งค่าขึ้นชัดเจน จนกว่าเฟด จะลดดอกเบี้ย” นักบริหารเงิน ระบุ นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.50 – 35.65 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ – เงินเยน อยู่ที่ระดับ 147.74/78 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 148.07 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0823/0827 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0844 ดอลลาร์/ยูโร – ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,376.28 จุด เพิ่มขึ้น 8.13 จุด (+0.59%) มูลค่าซื้อขาย 39,308.57 ล้านบาท – สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 150.43 ล้านบาท – รมช.คลัง ยืนยันว่า รัฐบาลจะยังเดินหน้าโครงการแจกเงิน 1 หมื่นบาท ผ่านโครงการดิจิทัลวอลเล็ต แต่ยอมรับว่า โครงการจะต้องล่าช้าออกไปกำหนดเดิมในเดือน พ.ค. 67 และยังไม่ได้กำหนดระยะเวลาใหม่ที่ชัดเจนว่าจะเริ่มโครงการดังกล่าวได้ใน ช่วงใด อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าโครงการดิจิทัลวอลเล็ตจะเลื่อนออกไปไม่นานจากกำหนดการเดิม ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอหนังสือจากคณะ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) – รมช.คลัง ให้ความเห็นว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 7 ก.พ. นี้ ควร พิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงจากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 2.50% ต่อปี เพื่อช่วยบรรเทาภาระของภาคประชาชนและภาคธุรกิจ เนื่อง จากปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ทรงตัวอยู่ในระดับสูง มีผลกระทบทั้งประชาชนทั่วไป และผู้ประกอบธุรกิจ ในขณะที่ ปัจจุบันมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ – รมช.คลัง มอบหมายให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) พิจารณาแนวทางออกพันธบัตร (บอนด์) ในรูปเงินตราต่าง ประเทศ หลังจากไทยไม่ได้ออกมา 20 ปีแล้ว โดยวัตถุประสงค์สำคัญไม่ใช่เพื่อการระดมทุน หรือการกระจายความเสี่ยง แต่เพื่อเป็นการ สร้างมาตรฐานในการอ้างอิงอัตราดอกเบี้ยให้ภาคเอกชนเป็นหลัก – ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนธ.ค. 66 ว่า มีสัญญาณชะลอตัว จากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน รวมถึงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของภาค การท่องเที่ยว และการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ทั้งนี้ ยังคงต้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบต่อภาค การผลิตของไทยอย่างใกล้ชิดต่อไป – ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคต เศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนม.ค.67 สะท้อนความเชื่อมั่นเศรษฐกิจใน 6 เดือนข้างหน้าที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะในภาคตะวันออก ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ จากปัจจัยสนับสนุนในภาคบริการ และการลงทุนเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ยังมีความกังวลเกี่ยวกับความ ผันผวนของเศรษฐกิจโลก รวมถึงสภาพอากาศและปรากฏการณ์เอลนีโญที่อาจส่งผลให้เกิดภัยแล้งและจะกระทบต่อภาคเกษตรกรรม – สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผย ยอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปตลอดทั้งปี 66 อยู่ที่ 1,117,539 คัน ทะลุเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ที่ 1,050,000 คัน และสูงกว่ายอดส่งออกก่อนเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ปี 62 และสูงสุดในรอบ 5 ปี เพิ่มขึ้น 11.73% จากปี 65 เนื่องจากประเทศคู่ค้าส่วนใหญ่ยังมียอดขายรถยนต์เพิ่มขึ้นตามเศรษฐกิจที่ยังขยายตัว จึงทำให้ส่งออกเพิ่ม ขึ้นในทุกตลาด ยกเว้นตลาดแอฟริกาที่ลดลง โดยมูลค่าการส่งออกในปี 66 อยู่ที่ 972,790.64 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 65 ที่ 8.13% – Krungthai Compass ประเมินว่า ปัญหาการสู้รบในทะเลแดงที่ยืดเยื้อ มีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อการส่งออกในปี 67 โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าไปยังยุโรป การโจมตีเรือสินค้าที่ผ่านเส้นทางทะเลแดง โดยกลุ่มกบฏฮูตีที่ยังไม่ยุตินั้น ส่งผลให้ค่าระวางเรือ ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพราะบริษัทขนส่งหลายแห่งต้องเดินเรืออ้อมไปยังแหลมกู๊ดโฮป – ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ประเมินว่า มูลค่าการส่งออกไทยในปี 67 ยังคงขยายตัว ต่อเนื่องที่ 3.7% – นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า จีนอาจจะเผชิญภาวะเงินฝืดอย่างต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 6 เดือน เนื่องจากอุปสงค์ที่ชะลอตัว ลงและวิกฤตการณ์ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังคงบั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภค

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ล่าสุด
ข่าว