ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.90 แนวโน้มอ่อนค่า จับตาเงินเฟ้อสหรัฐ-ทิศทาง Flow - Interstellar Group Thailand
Skip to content

Interstellar Group

ในฐานะผลิตภัณฑ์การซื้อขายทางการเงินที่ซับซ้อน สัญญาส่วนต่าง Contracts for Difference (CFDs) มีความเสี่ยงสูงอย่างมากเนื่องจากคุณสมบัติของเลเวอเรจ บัญชีลูกค้าของนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มักบันทึกการสูญเสียเงินลงทุนในสัญญาส่วนต่างอย่างรวดเร็ว คุณควรพิจารณาว่า คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การดำเนินงานของสัญญาส่วนต่าง และสามารถรับความเสี่ยงสูงของการสูญเสียเงินลงทุนได้หรือไม่    

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.90 แนวโน้มอ่อนค่า จับตาเงินเฟ้อสหรัฐ-ทิศทาง Flow

ISG
ประกาศ

เราขอแนะนำให้คุณปฏิบัติตามประกาศทางการตลาดของเรา

.right_news

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

ตลาด
ข่าว

ข้อมูลทางการเงินทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมงและข่าวตลาดโลก

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสนับสนุน &
ความรับผิดชอบต่อสังคม

InterStellar Group มีเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทชั้นนำ และมีพลังในการสร้างผลกระทบที่ดีต่อโลก
นอกจากนี้เรายังมุ่งมั่นที่จะตอบแทนสังคม โดยตระหนักถึงคุณค่าของทุกคนเป็นส่วนสำคัญของชุมชนระดับโลกของเรา

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสัมนาสดเกี่ยวกับฟอเร็กซ์

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

12

2024-02

Date Icon
2024-02-12
การคาดการณ์สภาวะตลาด
ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.90 แนวโน้มอ่อนค่า จับตาเงินเฟ้อสหรัฐ-ทิศทาง Flow

InfoQuest – นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน บาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 35.90 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวจากระดับปิดเมื่อวันศุกร์ โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทผันผวนอ่อนค่าลง ท่ามกลางมุมมองของตลาดที่เชื่อว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจ ลดดอกเบี้ยได้ราว 2 ครั้งในปีนี้ ส่วนเงินดอลลาร์ยังคงได้แรงหนุนจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สดใส สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาทมองว่า โมเมนตัมฝั่งอ่อนค่ายังคงอยู่ โดยต้องจับตาแนวต้านเชิงจิตวิทยาที่ 36.00 บาท/ ดอลลาร์ เพราะการอ่อนค่าทะลุโซนดังกล่าว จะปิดฉากเทรนด์การแข็งค่าตั้งแต่เดือนต.ค.ปีก่อน โดยคาดกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้ อยู่ที่ ระดับ 35.45-36.15 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่สัปดาห์นี้ ควรจับตารายงานอัตราเงินเฟ้อ (CPI) รวมถึงยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ และอังกฤษ และติดตามถ้อยแถลงของ บรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ ควรจับตาทิศทางราคาทองคำ รวมถึงฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ ที่เป็นอีกปัจจัยส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเงินบาทได้ พอสมควรในช่วงนี้ นายพูน คาดกรอบเงินบาทวันนี้อยู่ที่ระดับ 35.80-36.00 บาท/ดอลลาร์ SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.91250 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยน อยู่ที่ระดับ 149.17 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 149.29 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0794 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0771 ดอลลาร์/ยูโร – อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ระดับ 35.938 บาท/ดอลลาร์ – สัปดาห์นี้จะมีการประชุมร่วมกันระหว่างกรมสรรพากร กรมศุลกากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือถึงการทบทวน ข้อ ยกเว้นภาษี สำหรับสินค้านำเข้าที่มีการสั่งซื้อและส่งเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีการยกเว้นเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% และอากรขา เข้า สำหรับสินค้าที่มีหีบห่อ ราคารวมค่าขนส่งและค่าประกันภัยไม่เกิน 1,500 บาท โดยดูว่าจะมีการปรับเปลี่ยนแปลงอัตราอย่างไร หรือ ควรยกเลิกการยกเว้นหรือไม่ เพื่อให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ – กรมการค้าภายใน ติดตามการนำเข้าสินค้าและวัตถุดิบต่างๆ จากต่างประเทศอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะปุ๋ยเคมี ยาปราบ ศัตรูพืช เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ต่างๆ รวมถึงวัตถุดิบอาหารสัตว์ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวสาลี ฯลฯ เพราะการโจมตีเรือขนส่งสินค้าใน ทะเลแดง ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น สงครามรัสเซีย-ยูเครน และสงครามอิสราเอล-ฮามาส ที่ยังมีอยู่ และค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงมาก อาจกระทบต่อราคานำเข้าสินค้าเหล่านี้ และอาจกระทบต่อราคาขายในประเทศ แต่กรมจะดูแลราคาสินค้าในประเทศโดยให้ทุกฝ่ายได้รับ ความเป็นธรรมอย่างเท่าเทียมกัน และไม่อนุญาตให้รายใดปรับขึ้นราคาโดยเด็ดขาด หากไม่มีเหตุผลอันสมควร – กรรมการจัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เตือนว่า การสู้รบในฉนวนกาซาที่บานปลายจะยิ่งทำให้เศรษฐกิจ ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งมากยิ่งขึ้น – กระทรวงแรงงานสหรัฐประกาศปรับลดตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนธ.ค. โดยระบุว่าดัชนี CPI ทั่วไป (Headline CPI) ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 0.2% ในเดือนธ.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ต่ำกว่าตัวเลขที่มีการรายงาน ก่อนหน้านี้ที่ระดับ 0.3% ส่วนดัชนี CPI พื้นฐาน (Core CPI) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 0.3% ในเดือนธ.ค. สอดคล้องกับตัวเลขที่มีการรายงานก่อนหน้านี้ – นักลงทุนให้น้ำหนัก 54.8% ที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 5.00-5.25% ในการ ประชุมเดือนพ.ค. หลังจากที่ให้น้ำหนัก 50.3% ก่อนหน้านี้ ขณะเดียวกัน นักลงทุนให้น้ำหนัก 35.1% ที่เฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 5.25-5.50% ในการประชุมเดือนพ.ค. หลังจากที่ให้น้ำหนัก 40.1% ก่อนหน้านี้ – นักลงทุนในตลาดการเงินจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนม.ค.ของสหรัฐในวันพรุ่งนี้ (13 ก. พ.) เพื่อประเมินทิศทางเงินเฟ้อและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) – ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนม.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่าง งานรายสัปดาห์, ยอดค้าปลีกเดือนม.ค., ราคานำเข้าและราคาส่งออกเดือนม.ค., ดัชนีภาคการผลิต (Empire State Manufacturing Index) เดือนก.พ, ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนก.พ.จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB), ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนม.ค. และ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนก.พ.

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ล่าสุด
ข่าว