Skip to content

Interstellar Group

ในฐานะผลิตภัณฑ์การซื้อขายทางการเงินที่ซับซ้อน สัญญาส่วนต่าง Contracts for Difference (CFDs) มีความเสี่ยงสูงอย่างมากเนื่องจากคุณสมบัติของเลเวอเรจ บัญชีลูกค้าของนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มักบันทึกการสูญเสียเงินลงทุนในสัญญาส่วนต่างอย่างรวดเร็ว คุณควรพิจารณาว่า คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การดำเนินงานของสัญญาส่วนต่าง และสามารถรับความเสี่ยงสูงของการสูญเสียเงินลงทุนได้หรือไม่    

ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.96 แข็งค่าตามหยวน จับตาตัวเลข GDP ไทยเช้านี้

ISG
ประกาศ

เราขอแนะนำให้คุณปฏิบัติตามประกาศทางการตลาดของเรา

.right_news

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

ตลาด
ข่าว

ข้อมูลทางการเงินทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมงและข่าวตลาดโลก

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสนับสนุน &
ความรับผิดชอบต่อสังคม

InterStellar Group มีเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทชั้นนำ และมีพลังในการสร้างผลกระทบที่ดีต่อโลก
นอกจากนี้เรายังมุ่งมั่นที่จะตอบแทนสังคม โดยตระหนักถึงคุณค่าของทุกคนเป็นส่วนสำคัญของชุมชนระดับโลกของเรา

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสัมนาสดเกี่ยวกับฟอเร็กซ์

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

19

2024-02

Date Icon
2024-02-19
การคาดการณ์สภาวะตลาด
ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.96 แข็งค่าตามหยวน จับตาตัวเลข GDP ไทยเช้านี้

InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 35.96 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากปิด ตลาดเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 36.04 บาท/ดอลลาร์ เช้านี้เงินบาทแข็งค่าตามสกุลเงินหยวน หลังตลาดจีนหยุดยาวช่วงตรุษจีนไปหลายวัน นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.85 – 36.10 บาท/ดอลลาร์ สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามวันนี้ คือตัวเลข GDP ของไทยไตรมาส 4/66 ทั้งปี 2566 และแนวโน้มปี 2567

* ปัจจัยสำคัญ – เงินเยนอยู่ที่ 149.94 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 150.22 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโรอยู่ที่ 1.0778 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0768 ดอลลาร์/ยูโร – อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท. อยู่ที่ระดับ 36.111 บาท/ ดอลลาร์ – สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ของปี 2566 ทั้งปี 2566 และแนวโน้มปี 2567 – รมว.การท่องเที่ยวฯ เร่งหารือ ททท. 19 ก.พ.นี้ ทำแผนดึงชาร์เตอร์ไฟลต์ 6 ตลาดหลักเข้าไทยเพิ่ม หวังกระตุ้นยอด นักท่องเที่ยวต่างชาติแตะ 40 ล้านคน สร้างรายได้ 3.5 ล้านล้านบาท – กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยดัชนี PPI ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้ผลิตประจำเดือนม.ค.ในวันศุกร์ โดยดัชนี PPI ทั่วไป (Headline PPI) ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 0.9% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายปี สูงกว่าที่นัก วิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.6% จากระดับ 1.0% ในเดือนธ.ค. และเมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี PPI ทั่วไป ปรับตัวขึ้น 0.3% ในเดือน ม.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.1% หลังจากปรับตัวลง 0.1% ในเดือนธ.ค. ส่วนดัชนี PPI พื้นฐาน (Core PPI) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 2.0% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบราย ปี สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 1.6% จากระดับ 1.7% ในเดือนธ.ค. และเมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี PPI พื้นฐานปรับตัวขึ้น 0.5% ในเดือนม.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.1% หลังจากปรับตัวลง 0.1% ในเดือนธ.ค. – ข้อมูลดังกล่าวอาจทำให้เฟดชะลอการตัดสินใจเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย หลังจากเมื่อต้นสัปดาห์นี้ รายงานดัชนี ราคาผู้บริโภค (CPI) ที่สูงเกินคาดก็กระตุ้นแรงเทขายในตลาดหุ้น แม้การเปิดเผยยอดค้าปลีกที่ลดลงในเดือนม.ค.เมื่อวันพฤหัสบดี ได้เพิ่ม ความหวังเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยก็ตาม – ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐ มีกำหนดแถลงนโยบายประจำปี (State of the Union) ต่อสภาคองเกรสสหรัฐ ในวันพฤหัสบดีที่ 7 มี.ค. เวลา 21.00 น.ตามเวลาสหรัฐ หรือตรงกับเช้าวันศุกร์ที่ 8 มี.ค. เวลา 09.00 น.ตามเวลาไทย ซึ่งจะเป็น การกล่าวปราศรัยต่อชาวอเมริกันทั่วประเทศเป็นครั้งสุดท้ายของเขา ก่อนที่การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐจะมีขึ้นในเดือนพ.ย. – ตลาดการเงินจับตาถ้อยแถลงของปธน.ไบเดน เพื่อหาสัญญาณเกี่ยวกับทิศทางนโยบายของสหรัฐ ท่ามกลางสงครามระหว่าง อิสราเอลและกลุ่มฮามาส ขณะที่รัสเซียยังคงใช้ปฏิบัติการพิเศษทางทหารต่อยูเครน รวมทั้งความขัดแย้งในทะเลจีนใต้และคาบสมุทรเกาหลี – ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนี PMI ภาคการผลิตและภาคบริการ (เบื้องต้น) เดือน ก.พ., ยอด ขายบ้านมือสองเดือน ม.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และบันทึกการประชุมเฟดเมื่อวันที่ 30-31 ม.ค.67

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ล่าสุด
ข่าว