ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 36.10 อ่อนค่าตามภูมิภาค-ไร้ปัจจัยใหม่ คาดต้นสัปดาห์หน้า 35.90-36.20 - Interstellar Group Thailand
Skip to content

Interstellar Group

ในฐานะผลิตภัณฑ์การซื้อขายทางการเงินที่ซับซ้อน สัญญาส่วนต่าง Contracts for Difference (CFDs) มีความเสี่ยงสูงอย่างมากเนื่องจากคุณสมบัติของเลเวอเรจ บัญชีลูกค้าของนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มักบันทึกการสูญเสียเงินลงทุนในสัญญาส่วนต่างอย่างรวดเร็ว คุณควรพิจารณาว่า คุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การดำเนินงานของสัญญาส่วนต่าง และสามารถรับความเสี่ยงสูงของการสูญเสียเงินลงทุนได้หรือไม่    

ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 36.10 อ่อนค่าตามภูมิภาค-ไร้ปัจจัยใหม่ คาดต้นสัปดาห์หน้า 35.90-36.20

ISG
ประกาศ

เราขอแนะนำให้คุณปฏิบัติตามประกาศทางการตลาดของเรา

.right_news

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

ตลาด
ข่าว

ข้อมูลทางการเงินทั่วโลกตลอด 24 ชั่วโมงและข่าวตลาดโลก

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสนับสนุน &
ความรับผิดชอบต่อสังคม

InterStellar Group มีเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทชั้นนำ และมีพลังในการสร้างผลกระทบที่ดีต่อโลก
นอกจากนี้เรายังมุ่งมั่นที่จะตอบแทนสังคม โดยตระหนักถึงคุณค่าของทุกคนเป็นส่วนสำคัญของชุมชนระดับโลกของเรา

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

การสัมนาสดเกี่ยวกับฟอเร็กซ์

A WORLD LEADER

IN FX & CFD TRADING

24

2024-02

Date Icon
2024-02-24
การคาดการณ์สภาวะตลาด
ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 36.10 อ่อนค่าตามภูมิภาค-ไร้ปัจจัยใหม่ คาดต้นสัปดาห์หน้า 35.90-36.20

InfoQuest – นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 36.10 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก ช่วงเช้าเปิดตลาดที่ระดับ 35.94 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทอ่อนค่าตามทิศทางสกุลเงินอื่นในภูมิภาค โดยวันนี้ยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามาชี้นำตลาด โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อน ไหวในกรอบ 35.92 – 36.12 บาท/ดอลลาร์ “ช่วงสายๆ หลังจากที่กระทรวงพาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศเดือนม.ค. ที่พบว่าขาดดุลการค้าถึง 2.7 พันล้าน ดอลลาร์ ทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงไปบ้าง และในช่วงบ่ายก็อ่อนค่าต่อเนื่อง จากแรงซื้อดอลลาร์ ซึ่งเป็นการอ่อนค่าทั้งภูมิภาค” นักบริหาร เงิน ระบุ คืนนี้ไม่มีรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ แต่สัปดาห์หน้า ต้องติดตามการรายงาน GDP ไตรมาส 4/2566 (ประมาณ การครั้งที่ 2) และดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนม.ค. นักบริหารเงิน คาดว่า ต้นสัปดาห์หน้า เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.90 – 36.20 บาท/ดอลลาร์

* ปัจจัยสำคัญ

– เงินเยน อยู่ที่ระดับ 150.73 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 150.43 เยน/ดอลลาร์ – เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0815 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0824 ดอลลาร์/ยูโร – ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,398.14 จุด ลดลง 4.33 จุด (-0.31%) มูลค่าการซื้อขาย 48,385.71 ล้านบาท – สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,831.55 ล้านบาท – วิจัยกรุงศรี ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยปี 67 จะขยายตัวได้ 2.7% เติบโตตามวัฎจักรเศรษฐกิจ ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไป คาดว่าจะยังอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องที่ 1.1% ปัจจัยดังกล่าว เพิ่มโอกาสที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ย นโยบายลงตั้งแต่ช่วงกลางปีเป็นต้นไป เพื่อสนับสนุนให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมีความต่อเนื่อง – KKP Research คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยปี 67 จะเติบโตได้ 2.6% ลดลงจากเดิมที่เคยประเมินไว้ที่ 3.7% ซึ่งการ เติบโตของเศรษฐกิจไทยเริ่มลดต่ำลงจากปัญหาเชิงโครงสร้าง ทั้งนี้ คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะสามารถโตได้ดีขึ้นในช่วงครั้งหลังของปีนี้ เมื่อ การเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ กลับมาชดเชยการชะลอตัวในช่วงก่อนหน้า และการผลิตภาคอุตสาหกรรม และระดับสินค้าคงคลังกลับ เข้าสู่ภาวะปกติ – กระทรวงพาณิชย์ เผยมูลค่าส่งออกไทยเดือนม.ค. อยู่ที่ 22,649 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 10% จากช่วงเดียวกันของปี ก่อน เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 โดยอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 18 เดือน นับตั้งแต่มิ.ย.65 ขณะที่การนำเข้า มีมูลค่า 25,407 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ในเดือนม.ค. ไทยขาดดุลการค้า 2,757 ล้านเหรียญสหรัฐ – นักวิเคราะห์ของโกลด์แมน แซคส์ ยกเลิกคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนพ. ค. เนื่องจากถ้อยแถลงของเหล่าผู้กำหนดนโยบายต่างชี้ว่า ยังไม่รีบปรับลดอัตราดอกเบี้ย – ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุในวันพฤหัสบดี (22 ก.พ.) ว่า เขาต้องการเห็นหลักฐานมากกว่านี้ว่า เงินเฟ้อ เริ่มชะลอตัวลงแล้ว จึงจะเต็มใจสนับสนุนให้เฟดปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง – รมช.คลังสหรัฐฯ ระบุว่า สหรัฐฯ จะบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตร ต่อเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับรัสเซียมากกว่า 500 เป้า หมายในวันนี้ (23 ก.พ.) ซึ่งเป็นการดำเนินการที่มีขึ้น หลังจากเพิ่งครบรอบ 2 ปี ที่รัสเซียรุกรานยูเครน – นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เปิดเผยว่า การที่ค่าเงินริงกิตของมาเลเซีย ร่วงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 26 ปีในสัปดาห์นี้ เป็น เรื่องที่น่ากังวล แต่จำเป็นต้องคำนึงถึงภาพรวมของสถานการณ์ด้วย อย่างไรก็ดี การลงทุนในมาเลเซียยังคงอยู่ในระดับสูง อัตราเงินเฟ้อ และการว่างงานลดลง และมาเลเซียสามารถรักษาระดับการเติบโตของเศรษฐกิจได้ เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน – กระทรวงพาณิชย์จีน (MOFCOM) เปิดเผยว่า กระแสการลงทุนจากต่างประเทศเข้าสู่จีน หดตัว 11.7% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยลดลงสู่ระดับ 1.1271 แสนล้านหยวน (1.566 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ)

กดอ่านข่าวต้นฉบับจาก InfoQuest

ล่าสุด
ข่าว